Mobile Computer (เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา)

Mobile Computer(เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา)

        คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล มีหน้าจอแสดงผล  และสามารถพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในตัวเครื่อง สามารถติดตั้งโปรแกรมลงในตัวเครื่อง เข้าใจง่ายคือ ทำงานได้เสมือนคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง แต่ตัวเครื่อง และหน่วยประมวลผล มีขนาดเล็กกว่า
 
        Mobile Computer คือการใช้งานเทคโนโลยีของ Mobile และ Computer รวมกัน เพราะฉะนั้น Mobile Computer จึงมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับ สมาร์ทโฟน ที่เราใช้งานกันอยู่ปัจจุบัน และมีหน่วยประมวลผลเหมือนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะแยก Mobile Computer ออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้

1. Physical (ลักษณะของตัวเครื่อง) : ลักษณะตัวเครื่อง Mobile Computer ถูกพัฒนามาจาก PDA และเพิ่มในส่วนของ Scan Engine  (หัวอ่านบาร์โค้ด) สำหรับอ่านบาร์โค้ด เฉพาะนั้นตัวเครื่อง Mobile Computer ในช่วงแรกๆ จะมีขนาดใหญ่

2. OS(ระบบปฏิบัติการ) : ระบบปฏิบัติการเริ่มแรกที่ใช้งานบน Mobile Computer คือ "Windows CE" ซึ่งพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการบน PDA เราจะแยกระบบปฏิบัติบน Mobile Computer ดังนี้
        - Windows CE : พัฒนาจาก Windows 2000 บน PC และช่วงแรกถูกนำมาใช้บน PDA
        - Windows Mobile : พัฒนาจาก Windows CE แต่ลักษณะที่ทันสมัยมากขึ้น และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับใช้งานบน Mobile Computer ซึ่งปัจจุบันทาง Windows หยุดพัฒนาไปแล้ว เนื่องจากปัญหาทางด้านธุรกิจ
        - Android : เป็นระบบ Free Ware ที่ใช้งานบน Smart Phone ทั่วไป ซึ่งระบบปฏิบัติการ Android ง่ายต่อการพัฒนาระบบ เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติแบบเปิด จึงถูกนำมาใช้งานบน Mobile Computer แต่ระบบปฏิบัติการ Android มีข้อเสียคือระบบต้องการทรัพยากรในการประมวลที่มากกว่า Windows CE and Windows Mobile ทำให้ต้องเพิ่มหน่วยประมวลผลของ Mobile Computer ทำให้ราคาตัวเครื่องค่อนข้างสูง

Mobile Computer สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

        ตามลักษณะการใช้งาน คือ ประเภทใช้งานทั่วไป และประเภทใช้งานอุตสาหกรรม
1. Mobile Computer ประเภทใช้งานทั่วไป คือ กลุ่มประเภทที่ใช้งานตัวเครื่องในสภาพแวดล้อมปกติ ส่วนมากเน้นเรื่องการแสดงผลของข้อมูล ใช้งานมากในกลุ่มร้านสินค้าทั่วไป ใช้ในการแสดงผลสินค้า ตรวจสอบสินค้า ตรวจนับสต็อกสินค้า
         โดยสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท
        1.1  Mobile Computer Non-Keypad : คือ Mobile Computer ที่ไม่มีปุ่มกดบนตัวเครื่อง แต่อาศัยใช้งานปุ่มกดบนหน้าจอแสดงผลทดแทน เพื่อต้องให้หน้าจอมีขนาดใหญ่ ใช้ในการแสดงข้อมูลสินค้า เช่น ภาพสินค้า และข้อมูลต่างๆ ของสินค้า เช่น ร้านขายสินค้า ร้านขายเครื่องประดับ ตัวอย่างอุปกรณ์ดังนี้

                                            
                        Mobile Computer Non-Keypad(ประเภทใช้งานทั่วไป) จะใช้งานระบบปฏิบัติการ Android 

        1.2 Mobile Computer Keypad  คือ Mobile Computer ที่มีปุ่มกดบนตัวเครื่อง ส่วนใหญ่ใช้กับงานที่ต้องอาศัย การพิมพ์ตัวเลข หรือตัวอักษรในขณะใช้งานตัวเครื่อง ส่วนมากนำมาใช้งานในการรับสินค้า จ่ายสินค้าออกหรือตรวจเช็คสินค้า ตัวอย่างอุปกรณ์ดังนี้

                                                  
                           Mobile Computer Non-Keypad(ประเภทใช้งานทั่วไป) จะใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows Mobile


2. Mobile Computer ประเภทใช้งานในอุตสาหกรรม คือ Mobile Computer ที่สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสมบุกสมบัน เช่น ใช้งานขณะฝนตก ฝุ่นมาก อากาศร้อน สารเคมี หรือป้องกันการระเบิด
ส่วนใหญ่จะใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม การขนส่งสินค้า หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
        Mobile Computer ประเภทนี้ เน้นหนักไปทางด้านความทนทาน และมีหน่วยประมวลผลสูง เนื่องจากจะมีการรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งขนาดตัวเครื่องจะใหญ่กว่าประเภทใช้งานทั่วไป โดยมากมักมีด้านจับ(Gun) เพื่อง่ายต่อจับใช้งาน ส่วนมาก Mobile Computer(ประเภทอุตสาหกรรม) เป็นแบบมี Keypad เนื่องจาก Mobile Computer ประเภทดังกล่าวจะมีการเชื่อมต่อกับระบบตลอดเวลา และจะต้องมีการยืนยัน หรือพิมพ์ข้อมูลหน้างาน ตัวอย่างอุปกรณ์

                             
        Mobile Computer Keypad(ประเภทอุตสาหกรรม) จะใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows Mobile หรือ Windows CE

องค์ประกอบของ Mobile Computer

- จอแสดงผล(Display) : จอแสดงผลของ Mobile Computer ทั้งหมดเป็นจอแสดงผลแบบสัมผัส(Touch Screen) แบบ "Resistive Touch"  จึงทำให้ใช้งานได้กับทุกวัตถุสัมผัส รวมถึงสามารถใช้งานได้แม้กระทั้งเปียกน้ำ
- หัวอ่านบาร์โค้ด(Scan Engine) : หัวอ่านบาร์โค้ดของ Mobile Computer ถูกพัฒนามาจาก เครื่องอ่านบาร์โค้ด เพราะฉะนั้นสามารถอ่านบาร์โค้ดเหมือนเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้ทุกประการ
- แป้นพิมพ์(Key-Pad) : คือแป้นพิมพ์บน Mobile Computer ปกติจะมีอยู่ 3 แบบ คือ
                  1. แป้นพิมพ์แบบ Numeric คือแป้นพิมพ์ที่เน้นแสดงตัวเลข
                  2. แป้นพิมพ์แบบ Qwerty คือแป้นพิมพ์ที่เน้นตัวอักษร
                  3. แป้นพิมพ์แบบผสม เช่น Function-Numeric, Function-Qwerty or Alpha-Numeric คือแป้นพิมพ์รูปแบบผสมเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

- ระบบปฏิบัติการ(OS) : ระบบปฏิบัติการบน Mobile Computer มีทั้งหมด 3 แบบ คืน Windows CE, Windows Mobile and Android

Remark : Windows CE and Windows Mobile ไม่พัฒนาต่อ ปัจจุบันใช้งานได้เฉพาะ Android


- ระบบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย : WLAN WWAN and WPAN
- กล้องถ่ายรูป(Camera) : ใช้งานการถ่ายรูปเก็บข้อมูลสินค้า หรือวัตถุดิบ ส่วนมากกล้องบน Mobile Computer ความละเอียดจะไม่สูงมากนัก อยู่ระหว่าง 3 - 8 ล้านพิกเซล
- ปากกา(Stylus) : เป็นปากกาสำหรับเขียนข้อมูลลงบน Mobile Computer
- ด้ามจับ(Gun or Scan Handle) : เป็นด้ามจับสำหรับใช้งานร่วมกับ Mobile Computer
- อุปกรณ์ชาร์ต(Charger) : เป็นอุปกรณ์สำหรับชาร์ตแบตตารี่ของ Mobile Computer มีด้วยกันหลากหลายแบบ เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ จะแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ
                1. อุปกรณ์สำหรับชาร์ตตัวเครื่อง Mobile Computer : เป็นอุปกรณ์ชาร์ต Mobile Computer ผ่านตัวเครื่อง เช่น Snap-On Adapter 

                                            

                2. อุปกรณ์สำหรับชาร์ตแบตตารี่ Mobile Computer : เป็นอุปกรณ์ชาร์ตเฉพาะแบตตารี่ของ Mobile Computer โดยไม่ต้องผ่านตัวเครื่อง เช่น Multi - Dock or Four Charge

                               

                3. อุปกรณ์สำหรับชาร์ตเครื่อง และแบตตารี่ Mobile Computer : เป็นอุปกรณ์ชาร์ตที่สามารถชาร์ตตัวเครื่อง และแบตตารี่ ของ Mobile Computer พร้อมกันได้ เช่น Single Dock

                                    

Remark ส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่ใช้ชาร์ตผ่านตัวเครื่อง Mobile Computer มักจะใช้งานในการเชื่อมต่อกับ Host เพื่อรับส่งข้อมูลระหว่าง Mobile Computer and Host ในส่วนอุปกรณ์เสริมอื่นๆ จะมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับผู้ผลิต

วิธีการเลือก Mobile Computer (เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา)
1. เลือก Mobile Computer ตามสภาพแวดล้อม หรือ สถานที่ในการใช้งาน ควรมีความทนทาน หน่วยประมวลผลที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เช่น Mobile Computer ที่ใช้งานทั่วไป หรือ Mobile Computer ใช้งานอุตสาหกรรม
2. เลือก ระบบปฏิบัติการ ของ Mobile Computer ให้เหมาะสมกับระบบ ง่ายต่อพัฒนา และมองความเป็นไปได้ในการใช้งานในอนาคต
3. เลือก หน้าจอแสดงผล ของ Mobile Computer ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ต้องการใช้เพื่อแสดงรูปสินค้า หรือใช้งานเน้นการส่งข้อมูล
4. เลือก Keypad ของ Mobile Computer ให้เหมาะสมกับการพิมพ์ข้อมูลหน้างาน  ซึ่งแป้นพิมพ์ Mobile Computer มี 4. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่เหมาะกับวิธีการใช้งานของเรา เช่น แบบมือจับ ตั้งโต๊ะ หรือ Fix-mount
5. เลือก การเชื่อมต่อไร้สาย ของ Mobile Computer ให้เหมาะสมกับการใช้งาน  เนื่องจากการเชื่อมต่อของ Mobile Computer มีให้เลือกหลายแบบ ตามข้อมูลที่ได้แจ้งไว้ข้างต้น
6. เลือก อุปกรณ์เสริม Mobile Computer ให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น กล้อง ที่ชาร์ตเครื่องบนรถ ด้ามจับ แบตตารี่สำรอง หรือเครื่องสำรองใช้งาน
7. เลือก Mobile Computer จากผู้ขายที่ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของเรา ไม่ใช่เลือกแค่เพียงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในปัจจุบันมีหลากหลาย
8. เลือก Mobile Computer จากบริษัทที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งาน และบริการหลังการขาย

ข้อมูลเฉพาะ ที่ควรทราบเกี่ยวกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Mobile Computer)
- การเชื่อมต่อแบบไร้สาย Mobile Computer
                - WWAN : หมายถึงสัญญาณของโทรศัพท์ เช่น 3G and 4G
                - WLAN : หมายถึงสัญญาณ Wi-Fi ที่ใช้งานกันอยู่ภายในองค์กร
                - WPAN : หมายถึงสัญญาณ Bluetooth เป็นสัญญาณวิทยุระยะใกล้
- ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Source) : หมายถึงระบบปฏิบัติการที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
- Host หมายถึง อุปกรณ์ฝั่งรับข้อมูลจาก Mobile Computer ซึ่งอาจจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร สมาร์ทโฟน
  หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถรับส่งข้อมูลจาก Mobile Computer ได้
- ระบบ หมายโปรแกรมที่ลูกค้าใช้งานอยู่ หากพัฒนาเพื่อใช้งานบนความคอมพิวเตอร์จะไม่รองรับการใช้งานบน Mobile Computer เพราะฉะนั้นต้องมีทีมโปรแกรมที่พัฒนาระบบให้ใช้งาน Mobile Computer ได้

 





  • บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด(มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเล...

  • Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจไปยังคอมพิวเตอ...

  • Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่าง...

  • Mobile Printer(เครื่องพิมพ์แบบพกพา) คือ เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เล็กน้อย ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วทำการสั่งพิมพ์สื่อแบบความร้อน Mobile Printer ...

  • Card Printer(เครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์บนบัตร PVC โดยเฉพาะ โดยใช้ความร้อนละลายหมึกเพื่อพิมพ์บนลงบัตรเครื่องพิมพ์บัตรที่ใช้งานทั่วไปมีความละเอียดข...

  • POS(Point of Sale) ระบบขายหน้าร้าน คือ ระบบสำหรับขายสินค้าหน้างาน สำหรับขายสินค้าทั่วไป ที่ต้องการระบบในการจัดการขายสินค้า รับสินค้า ขายสินค้า ออกบิล และรายงานการขายสินค้า โดยใช้ร...

  • WMS(Warehouse Manager) ระบบจัดการคลังสินค้า คือ ระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนข...

  • REGISTER SYSTEM(ระบบลงทะเบียน) คือ ระบบลงทะเบียน โดยใช้บาร์โค้ด or RFID แทนที่การเซ็นชื่อเพื่อยืนยันตัวตนแบบเดิม ทำให้ประหยัดเวลา และสามารถตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ทันที ซึ่งระบ...

  • RFID (Radio Frequency Identification) RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีแสดงตนแบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ RFID แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 1....
Visitors: 101,005