Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด)

Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด)

                Barcode Scanner (เครื่องอ่านบาร์โค้ด) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจไปยังคอมพิวเตอร์ เหมือนกับการใช้งานแป้นพิมพ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว แม่นยำ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้จากเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะนำไปใช้งานร่วมกับระบบ ช่วยในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

                สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่
1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส : โดยตัวเครื่องจะสัมผัสกับพื้นผิวบาร์โค้ดโดยตรง ซึ่งเครื่องลักษณะดังกล่าวจะมีผลกระทบทำให้บาร์โค้ดเสียหายจากการสัมผัส หรือเสียดสี
2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไม่สัมผัส : โดยตัวเครื่องจะใช้หลักการสะท้อนของแสง หรือการถ่ายภาพตัวบาร์โค้ดเพื่อทำการประมวลผลเป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

ประเภทของหัวอ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส

           
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ CCD, Laser, Omni-Directional และ Imager

1. CCD Scannerจะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน ลำแสงมีความหนา มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และความสามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีความละเอียดของแท่งบาร์โค้ดมากได้ลำบาก

2. Laser Scannerเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด 

3. Omni-directional Scannerเป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 

4. Imager Scannerเป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย

                นอกเหนือจากที่กล่าวมาในขั้นตอน หัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ยังมีลักษณะพิเศษเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้งาน กับความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น

ประเภทของหัวอ่านลักษณะพิเศษ ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1. SR (Standard Resolution) :คือ หัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดทั่วไป
2. FZ (Fuzzy Logic) :คือหัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะซีดจาง หรือสีของบาร์โค้ดมีความเข้มน้อยกว่าปกติ
3. ER (Extra long range):คือ หัวอ่านสำหรับอ่านบาร์โค้ดในระยะไกล ระยะทางไกลที่สุดระยะตัวเครื่องอ่าน และบาร์โค้ดประมาณ 10 เมตร ในพื้นที่ปิด เช่นในโรงงาน และบาร์โค้ดที่อ่านต้องมีความใหญ่ ตามระยะทาง ที่ต้องการให้อ่าน
4. OCR(Optical Character Recognition) :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านตัวอักษร แทนที่จะอ่านได้เพียง แท่งบาร์โค้ดอย่างเดียวแต่ตัวอักษรดังกล่าวจะต้องเป็น ประเภท หรือ (Fonts) ที่ตัวเครื่องรับรองเท่านั้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเครื่องอ่านบาร์โค้ด ว่าออกแบบว่าตัวเครื่องรองรับ ประเภท หรือ Fonts ของตัวอักษรชนิดใดบ้าง
5. HD (High Density) :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะเล็กเกินกว่า 4 มิล(mil)
6. DP/DPM (Direct Part Marks)  :คือหัวอ่าน สำหรับอ่านบาร์โค้ดที่ฝังลงบนเนื้อวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือราคาสูง เช่น เครื่องมือแพทย์

                *เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ขอแยกลักษณะการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ดังนี้

ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามลักษณะการใช้งาน

1. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามสภาพแวดล้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท
                1.1. เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น ร้านค้าทั่วไป สำนักงาน เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพแวดล้อมปกติ
                1.2  เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมทั่ว เช่น โรงงานต่างๆ เหมาะสำหรับใช้งานหนักต้องการความทนทานการทำงานของตัวเครื่องสูง
                1.3  เครื่องอ่านบาร์โค้ดสำหรับกลุ่มงานเฉพาะทาง เช่น โรงพยาบาล อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องความวัตถุไวไฟ และระเบิด ซึ่งจะมี เครื่องอ่านบาร์โค้ดเฉพาะ สำหรับทนต่อสารเคมีและป้องกันไม่ให้เกิดประกายไฟ


      
          


2. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามประเภทหัวอ่านบาร์โค้ด 2 ประเภท

                2.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 1 มิติ(1D) : หัวอ่านแบบ 1 มิติ ข้อดีคืออ่านบาร์โค้ดได้เร็ว และสามารถระบุชัดเจนว่าอ่านบาร์โค้ดตัวไหน หากในสินค้า 1 ตัว มีบาร์โค้ดติดอยู่หลายตัว ข้อเสียคืออ่านบาร์โค้ด 2 มิติ(2D) ไม่ได้ และแสงเครื่องอ่าน ต้องอยู่บาร์โค้ดทุกเส้นทั้งหมด จึงจะสามารถอ่านได้ ตามตัวอย่าง

        

                2.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด หัวอ่าน 2 มิติ(2D) : หัวอ่านแบบ 2 มิติ มีข้อดีคือ สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ด 1 มิติและ
2 มิติ และสามารถบาร์โค้ดได้ง่าย ขอเพียงบาร์โค้ดอยู่กรอบแสงของหัวอ่าน และอ่านบาร์โค้ดหลายตัวพร้อมกันได้ภายในการอ่านครั้งเดียว แต่บาร์โค้ดที่อ่านต้องอยู่ภายในกรอบแสงทั้งหมด ข้อเสียคือ อ่านบาร์โค้ดได้ช้ากว่า และหากมีบาร์โค้ดหลายตัวในสินค้าตัวเดียว จะมีปัญหาเรื่องการอ่าน บาร์โค้ดเฉพาะตัวที่ต้องการและราคาเครื่องอ่าน 2D สูงกว่าเครื่องอ่าน 1 มิติ

                            

3. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามประเภท การเชื่อมต่อ 2 ประเภท

                3.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมีสาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสายสัญญาณในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host ตัวอย่าง สายสัญญาณ เช่น USB PS2 Serial Parallel or สายสัญญาณเฉพาะสำหรับเครื่องจักร เช่น RS485
                3.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไร้สาย: คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสัญญาณคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูลไปยัง Host  เช่น Bluetooth ซึ่งระยะสัญญาณจะขึ้นอยู่กับ ความแรงสัญญาณ Bluetooth, สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มีสัญญาณรบกวน สิ่งกีดขวาง รวมถึงความเหมาะสมของตำแหน่ง หรือลักษณะการวางของตัวส่ง และตัวรับอย่างเหมาะสม
                                


4. เครื่องอ่านบาร์โค้ด แยกตามวิธีการใช้งาน

                4.1 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมือจับ(Handheld) คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ต้องอาศัยมือจับสำหรับการใช้งานสแกนบาร์โค้ดบนสินค้า หรือวัตถุ ซึ่งปัจจุบัน เครื่องลักษณะดังกล่าวนี้ จะมีขาตั้งสำหรับสแกนบาร์โค้ดซึ่งจะทำให้อ่านบาร์โค้ดได้อัตโนมัติเช่นกัน

                


              4.2 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบตั้งโต๊ะ(Desktop)คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับตั้งบนโต๊ะโดยเฉพาะ มีความไวในการอ่านบาร์โค้ดเมื่อมีบาร์โค้ดผ่านตำแหน่งที่สามารถอ่านได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้มือในการหยิบจับสินค้า ไม่สะดวกที่จะหยิบเครื่องอ่านบาร์โค้ดขึ้นมาอ่าน ส่วนมากใช้งานตามห้างสรรพสินค้าและโรงแรม 

                                                 


                4.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Fix Mount คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับกำหนดที่ตั้ง โดยไม่มีการเคลื่อนที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยบาร์โค้ดจะเคลื่อนที่มายังตำแหน่งระยะอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ทำการกำหนดไว้ เป็นเครื่องอ่านที่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีการเคลื่อนด้วยความเร็ว ส่วนมากจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดดังกล่าว ใช้งานกับโรงงานสายพานการผลิต เพื่อคัดแยกสินค้า หรือวัตถุ จากสายพานลำเรียง


  

                        
 

วิธีการเลือกซื้อ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

1. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดตามสภาพแวดล้อม หรือ สถานที่ในการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ควรมีความทนทานเหมาะสมสำหรับการใช้งาน
2. เลือกหัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่เราต้องการอ่าน 1D or 2D อย่างที่ได้กล่าวเบื้องต้น เกี่ยวข้อดี และข้อเสียระหว่างหัวอ่าน 1D และ 2D
3. เลือกหัวอ่านเฉพาะ ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่ต้องการใช้งาน เช่น เป็นบาร์โค้ดขนาดทั่วไป ขนาดเล็ก หรือเป็นบาร์โค้ดที่ฝังลงไปในวัตถุ เพื่อให้ง่าย และรวดเร็วในการใช้งาน
3. เลือกการเชื่อมต่อให้เหมาะสมการใช้งาน
    -  อันดับแรก เลือกแบบมีสาย หรือ ไร้สาย โดยดูจากลักษณะการทำงานจริง ว่าแบบไหนเหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด
    -  อันดับสอง เลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Host หรือ Software ที่ใช้งานอยู่อย่างเหมาะสม เช่น คอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนบ้าง แบบไหนเหมาะสมในการเชื่อมต่อ หรือ Software รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนได้บ้าง
4. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่เหมาะกับวิธีการใช้งานของเรา เช่น แบบมือจับ ตั้งโต๊ะ หรือ Fix-mount
5. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยดูที่ราคา ยี่ห้อ ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือ งบประมาณที่มีอยู่
6. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด จากผู้ขายที่ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับองค์กรของเรา ไม่ใช่เลือกแค่เพียงราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในปัจจุบันมีหลากหลาย
7. เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด จากบริษัทที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งาน และบริการหลังการขาย

ข้อมูล เฉพาะ ที่ควรทราบเกี่ยวกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Scanner Barcode)

- ขนาดของตัวบาร์โค้ด เราจะเรียกว่า มิล(mil) : 1 มิล= 0.0254 มิลลิเมตร
- ขนาดของตัวบาร์โค้ดที่เรียกว่า "มิล" เราจะวัดช่องว่างระยะห่าง ของแท่งบาร์โค้ดที่เล็กมากที่สุด ไม่ได้หมายถึงขนาดของตัวบาร์โค้ดทั้งหมด ซึ่งค่า มิล ของบาร์โค้ด เท่ากับ ขนาดของบาร์โค้ดทั้งหมด + ข้อมูล


         

จากภาพตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ว่า "ขนาดบาร์โค้ด 1.78 x 0.50 นิ้ว มีข้อมูล (AIO12345678 Scanner Barcode)" มีค่า "มิล" น้อยกว่า"ขนาดบาร์โค้ด 1.53 x 0.50 นิ้ว มีข้อมูล (AIO12345678)"
                ค่า "มิล" จะมีผลโดยกับอ่านบาร์โค้ด ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละรุ่นจะระบุค่า "มิล" ที่สามารถอ่านบาร์โค้ดตาม เอกสารคุณสมบัติ ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

- Host หมายถึง อุปกรณ์ฝั่งรับข้อมูลจาก เครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งอาจจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่สามารถรับข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดได้
- สายสัญญาณ RS232 or Serial เป็นสายสัญญาณชนิดเดียวกัน และสายสัญญาณแบบ RS232 ที่ใช้งานกับ เครื่องอ่านบาร์โค้ดส่วนใหญ่ จะต้องใช้งานร่วมกับตัวจ่ายไฟ หรือ Adapter เสมอ เนื่องจาก Host ไม่ได้จ่ายไฟผ่านสาย RS232

- การวัดระยะสัญญาณของเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย ที่ระบุตามคุณสมบัติของตัวเครื่อง ข้อมูลระยะสัญญาณที่ทำการระบุไว้ หมายถึง การวัดระยะในห้องที่ควบคุมสิ่งแวดล้อม ไร้ซึ่งสัญญาณรบกวน และสิ่งกีดขวางสัญญาณ หากนำมาใช้งานจริง ระยะสัญญาณอาจจะลดลงตามสภาพสิ่งแวดล้อม และสิ่งกีดขวาง

 




  • บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด(มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเล...

  • Barcode Printer (เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด) เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด คือ เครื่องพิมพ์ สำหรับพิมพ์บาร์โค้ดโดยเฉพาะ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ใช้ความร้อนในการพิมพ์บาร์โค้ดลงบนสื่อต่าง...

  • Mobile Computer(เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล มีหน้าจอแสดงผล และสามารถพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในตัวเครื่อง สามารถติ...

  • Mobile Printer(เครื่องพิมพ์แบบพกพา) คือ เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ มีหน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เล็กน้อย ทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วทำการสั่งพิมพ์สื่อแบบความร้อน Mobile Printer ...

  • Card Printer(เครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์บนบัตร PVC โดยเฉพาะ โดยใช้ความร้อนละลายหมึกเพื่อพิมพ์บนลงบัตรเครื่องพิมพ์บัตรที่ใช้งานทั่วไปมีความละเอียดข...

  • POS(Point of Sale) ระบบขายหน้าร้าน คือ ระบบสำหรับขายสินค้าหน้างาน สำหรับขายสินค้าทั่วไป ที่ต้องการระบบในการจัดการขายสินค้า รับสินค้า ขายสินค้า ออกบิล และรายงานการขายสินค้า โดยใช้ร...

  • WMS(Warehouse Manager) ระบบจัดการคลังสินค้า คือ ระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนข...

  • REGISTER SYSTEM(ระบบลงทะเบียน) คือ ระบบลงทะเบียน โดยใช้บาร์โค้ด or RFID แทนที่การเซ็นชื่อเพื่อยืนยันตัวตนแบบเดิม ทำให้ประหยัดเวลา และสามารถตรวจสอบจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ทันที ซึ่งระบ...

  • RFID (Radio Frequency Identification) RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีแสดงตนแบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ RFID แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก 1....
Visitors: 102,923